วิดีโอ วัฒนธรรมประเพณีภาคเหนือ
สำหรับภาคเหนือของไทย มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเขตภูเขาสลับพื้นที่ราบระหว่างภูเขา ซึ่งผู้คนอาศัยอย่างกระจายตัวแบ่งกันเป็นกลุ่ม อาจเรียกว่า กลุ่มวัฒนธรรมล้านนา โดยจะมีวิถีชีวิตและขนบธรรมเนียมเก่าแก่เป็นของตนเองมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่องค์ประกอบที่สำคัญก็ยังมีความคล้ายคลึงกันอยู่มาก อาทิ สำเนียงการพูด การขับร้อง ฟ้อนรำ การดำรงชีวิตแบบเกษตรกร การนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์และวิญญาณของบรรพบุรุษ ความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทการแสดงออกของความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์โดยผ่านภาษาวรรณกรรม ดนตรี และงานฝีมือแม้กระทั่งการจัดงานฉลองสถานที่สำคัญที่มีมาแต่โบราณ เดิมวัฒนธรรมคนเมืองหรือคนล้านนา มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ ตามชื่อของอาณาจักรที่มีการปกครองแบบนครรัฐที่ตั้งขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 โดยพญาเม็งราย
วัฒนธรรมทางภาษาถิ่น
ชาวไทยทางภาคเหนือมีภาษาล้านนาที่นุ่มนวลไพเราะ
ซึ่งมีภาษาพูดและภาษาเขียนที่เรียกว่า "คำเมือง" ของภาคเหนือเอง
โดยการพูดจะมีสำเนียงที่แตกต่างกันไปตามพื้นที่ ปัจจุบันยังคงใช้พูดติดต่อสื่อสารกัน
วัฒนธรรมการแต่งกาย
การแต่งกายพื้นเมืองของภาคเหนือมีลักษณะแตกต่างกันไปตามเชื้อชาติของกลุ่มชนคนเมือง เนื่องจากผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งบ่งบอกเอกลักษณ์ของแต่ละพื้นถิ่น
สำหรับหญิงชาวเหนือจะนุ่งผ้าซิ่น
หรือผ้าถุง มีความยาวเกือบถึงตาตุ่ม ซึ่งนิยมนุ่งทั้งสาวและคนแก่
ผ้าถุงจะมีความประณีต งดงาม ตีนซิ่นจะมีลวดลายงดงาม ส่วนเสื้อจะเป็นเสื้อคอกลม
มีสีสัน ลวดลายสวยงาม อาจห่มสไบทับ และเกล้าผม
ส่วนผู้ชายนิยมนุ่งนุ่งกางเกงขายาวลักษณะแบบกางเกงขายาวแบบ
3 ส่วน เรียกติดปากว่า "เตี่ยว"
"เตี่ยวสะดอ" หรือ "เตี่ยวกี" ทำจากผ้าฝ้าย
ย้อมสีน้ำเงินหรือสีดำ และสวมเสื้อผ้าฝ้ายคอกลมแขนสั้น แบบผ่าอก กระดุม 5 เม็ด สีน้ำเงินหรือสีดำ ที่เรียกว่า เสื้อม่อฮ่อม ชุดนี้ใส่เวลาทำงาน
หรือคอจีนแขนยาว อาจมีผ้าคาดเอว ผ้าพาดบ่า และมีผ้าโพกศีรษะ
ชาวบ้านบางแห่งสวมเสื้อม่อฮ่อม
นุ่งกางเกง สามส่วน และมีผ้าคาดเอว
เครื่องประดับมักจะเป็นเครื่องเงินและเครื่องทอง
วัฒนธรรมการกิน
ชาวเหนือมีวัฒนธรรมการกินคล้ายกับคนอีสาน คือ
กินข้าวเหนียวและปลาร้า ซึ่งภาษาเหนือเรียกว่า "ข้าวนิ่ง" และ
"ฮ้า" ส่วนกรรมวิธีการปรุงอาหารของภาคเหนือจะนิยมการต้ม ปิ้ง แกง หมก
ไม่นิยมใช้น้ำมัน ส่วนอาหารขึ้นชื่อเรียกว่าถ้าได้ไปเที่ยวต้องไปลิ้มลอง ได้แก่
น้ำพริกหนุ่ม, น้ำพริกอ่อง, น้ำพริกน้ำปู, ไส้อั่ว, แกงโฮะ, แกงฮังเล,
แคบหมู, ผักกาดจอ ลาบหมู, ลาบเนื้อ, จิ้นส้ม (แหนม), ข้าวซอย,
ขนมจีนน้ำเงี้ยว เป็นต้น
ประเพณีของภาคเหนือ
ประเพณีของภาคเหนือ
เกิดจากการผสมผสานการดำเนินชีวิต และศาสนาพุทธความเชื่อเรื่องการนับถือผีส่งผลทำให้มีประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของประเพณีที่จะแตกต่างกันไปตามฤดูกาล
ทั้งนี้ ภาคเหนือจะมีงานประเพณีในรอบปีแทบทุกเดือน
จึงขอยกตัวอย่างประเพณีภาคเหนือบางส่วนมานำเสนอ ดังนี้
สงกรานต์งานประเพณี ถือเป็นช่วงแรกของการเริ่มต้นปี๋ใหม่เมือง หรือสงกรานต์งานประเพณี
โดยแบ่งออกเป็น
วันที่ 13 เมษายน
หรือวันสังขารล่อง ถือเป็นวันสิ้นสุดของปี
ดยจะมีการยิงปืน ยิงสโพก
และจุดประทัดตั้งแต่ก่อนสว่างเพื่อขับไล่สิ่งไม่ดี วันนี้ต้องเก็บกวาดบ้านเรือน
และ ทำความสะอาดวัด
วันที่ 14 เมษายน หรือวันเนา ตอนเช้าจะมีการจัดเตรียมอาหารและเครื่องไทยทาน สำหรับงานบุญในวันรุ่งขึ้น ตอนบ่ายจะไปขนทรายจากแม่น้ำเพื่อนำไปก่อเจดีย์ทรายในวัด เป็นการทดแทนทรายที่เหยียบติดเท้าออกจากวัดตลอดทั้งปี
วันที่ 15 เมษายน หรือวันพญาวัน เป็นวันเริ่มศักราชใหม่ มีการทำบุญถวายขันข้าว ถวายตุง ไม้ค้ำโพธิ์ที่วัดสรงน้ำพระพุทธรูป พระธาตุและรดน้ำดำหัวขอพรจากผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ
วันที่ 16-17 เมษายน หรือวันปากปีและวันปากเดือน เป็นวันทำพิธีทางไสยศาสตร์ สะเดาะเคราะห์ และบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ทั้งนี้ ชาวล้านนามีความเชื่อว่า การทำพิธีสืบชะตาจะช่วยต่ออายุให้ตน เอง ญาติพี่น้อง และบ้านเมืองให้ยืนยาว ทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองและความเป็นสิริมงคล โดยแบ่งการสืบชะตาแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ การสืบชะตาคน, การสืบชะตาบ้าน และการสืบชะตาเมือง
วันที่ 14 เมษายน หรือวันเนา ตอนเช้าจะมีการจัดเตรียมอาหารและเครื่องไทยทาน สำหรับงานบุญในวันรุ่งขึ้น ตอนบ่ายจะไปขนทรายจากแม่น้ำเพื่อนำไปก่อเจดีย์ทรายในวัด เป็นการทดแทนทรายที่เหยียบติดเท้าออกจากวัดตลอดทั้งปี
วันที่ 15 เมษายน หรือวันพญาวัน เป็นวันเริ่มศักราชใหม่ มีการทำบุญถวายขันข้าว ถวายตุง ไม้ค้ำโพธิ์ที่วัดสรงน้ำพระพุทธรูป พระธาตุและรดน้ำดำหัวขอพรจากผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ
วันที่ 16-17 เมษายน หรือวันปากปีและวันปากเดือน เป็นวันทำพิธีทางไสยศาสตร์ สะเดาะเคราะห์ และบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ทั้งนี้ ชาวล้านนามีความเชื่อว่า การทำพิธีสืบชะตาจะช่วยต่ออายุให้ตน เอง ญาติพี่น้อง และบ้านเมืองให้ยืนยาว ทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองและความเป็นสิริมงคล โดยแบ่งการสืบชะตาแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ การสืบชะตาคน, การสืบชะตาบ้าน และการสืบชะตาเมือง
ประเพณีลอยกระทงสายหรือประทีปพันดวง ที่จังหวัดตาก ในเทศกาลเดียวกันด้วยในเดือน 3 หรือประมาณเดือนธันวาคม
มีประเพณีตั้งธรรมหลวง (เทศน์มหาชาติ) และทอดผ้าป่า ในธันวาคมจะมีการเกี่ยว
"ข้าวดอ" (คือข้าวสุกก่อนข้าวปี) พอถึงข้างแรมจึงจะมีการเกี่ยว
"ข้าวปี"
ประเพณีลอยโคม ชาวล้านนาจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความเชื่อในการปล่อย
โคมลอยซึ่งทำด้วยกระดาษสาติดบนโครงไม้ไผ่แล้วจุดตะเกียงไฟตรงกลางเพื่อให้ไอความร้อนพาโคมลอยขึ้นไปในอากาศเป็นการปล่อยเคราะห์ปล่อยโศกและเรื่องร้าย
ๆ ต่าง ๆ ให้ไปพ้นจากตัว
ประเพณีตานตุง ในภาษาถิ่นล้านนา ตุง หมายถึง "ธง"
จุดประสงค์ของการทำตุงในล้านนาก็คือ การทำถวายเป็นพุทธบูชา
ชาวล้านนาถือว่าเป็นการทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
หรือถวายเพื่อเป็นปัจจัยส่งกุศลให้แก่ตนไปในชาติหน้า ด้วยความเชื่อที่ว่า
เมื่อตายไปแล้วก็จะได้เกาะยึดชายตุงขึ้นสวรรค์พ้นจากขุมนรก
วันที่ถวายตุงนั้นนิยมกระทำในวันพญาวันซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเทศกาลสงกรานต์
ประเพณีกรวยสลาก หรือตานก๋วยสลาก เป็นประเพณีของชาวพุทธที่มีการทำบุญให้ทานรับพรจากพระ จะทำให้เกิดสิริมงคลแก่ตนและอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว เป็นการระลึกถึงบุญคุณของผู้มีพระคุณ และเป็นการแสดงออกถึงความสามัคคีของคนในชุมชน
ประเพณีกรวยสลาก หรือตานก๋วยสลาก เป็นประเพณีของชาวพุทธที่มีการทำบุญให้ทานรับพรจากพระ จะทำให้เกิดสิริมงคลแก่ตนและอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว เป็นการระลึกถึงบุญคุณของผู้มีพระคุณ และเป็นการแสดงออกถึงความสามัคคีของคนในชุมชน
ประเพณีขึ้นขันดอกอินทขิล บูชาเสาหลักเมืองเชียงใหม่
ประเพณีงานประเพณีนบพระเล่นเพลง ในแผ่นดินพระเจ้าลิไท วัดพระแก้ว อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
ประเพณีงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ เพื่อเป็นการเคารพสักการะเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ
ประเพณีลอยกระทงสาย เพื่อบูชาแม่คงคา ขอขมาที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในน้ำและอธิษฐานบูชารอยพระพุทธบาท
ประเพณีแล้อุ๊ป๊ะดะก่า เป็นการเตรียมอาหารเพื่อนำไปถวาย (ทำบุญ) ข้าวพระพุทธในวันพระของชาวไทยใหญ่
ประเพณีทอดผ้าป่าแถว เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนจะได้ถวายเครื่องนุ่งห่มและไทยธรรม เป็นเครื่องบูชาแด่พระสงฆ์ก่อนจะทำพิธีลอยกระทงบูชาพระพุทธบาทตามคติความเชื่อแต่โบราณ กระทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 (วันลอยกระทง)
ประเพณีขึ้นธาตุเดือนเก้า ประมาณเดือนมิถุนายน (หรือปลายเดือนพฤษภาคม) เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ประเพณีแข่งเรือยาว จังหวัดน่าน
ประเพณีเวียนเทียนกลางน้ำ วัดติโลกอาราม จังหวัดพะเยา
ประเพณีลอยกระทงสาย ไหลประทีปพันดวง จังหวัดตาก
ประเพณีทานหลัวผิงไฟ คือประเพณีการถวายฟืนแก่พระสงฆ์เพื่อใช้จุดไฟในช่วงฤดูหนาว จะกระทำในเดือน 4 เหนือหรือตรงกับเดือนมกราคม
ประเพณีอู้สาว คำว่า "อู้" เป็นภาษาไทยภาคเหนือแปลว่า "พุดกัน คุยกัน สนทนากัน สนทนากัน" ดังนั้น "อู้สาว" ก็คือ พูดกับสาว คุยกับสาว หรือแอ่วสาวการอู้สาวเป็นการพดคุยกันเป็นทำนองหรือเป็นกวีโวหาร
ประเพณีงานประเพณีนบพระเล่นเพลง ในแผ่นดินพระเจ้าลิไท วัดพระแก้ว อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
ประเพณีงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ เพื่อเป็นการเคารพสักการะเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ
ประเพณีลอยกระทงสาย เพื่อบูชาแม่คงคา ขอขมาที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในน้ำและอธิษฐานบูชารอยพระพุทธบาท
ประเพณีแล้อุ๊ป๊ะดะก่า เป็นการเตรียมอาหารเพื่อนำไปถวาย (ทำบุญ) ข้าวพระพุทธในวันพระของชาวไทยใหญ่
ประเพณีทอดผ้าป่าแถว เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนจะได้ถวายเครื่องนุ่งห่มและไทยธรรม เป็นเครื่องบูชาแด่พระสงฆ์ก่อนจะทำพิธีลอยกระทงบูชาพระพุทธบาทตามคติความเชื่อแต่โบราณ กระทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 (วันลอยกระทง)
ประเพณีขึ้นธาตุเดือนเก้า ประมาณเดือนมิถุนายน (หรือปลายเดือนพฤษภาคม) เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ประเพณีแข่งเรือยาว จังหวัดน่าน
ประเพณีเวียนเทียนกลางน้ำ วัดติโลกอาราม จังหวัดพะเยา
ประเพณีลอยกระทงสาย ไหลประทีปพันดวง จังหวัดตาก
ประเพณีทานหลัวผิงไฟ คือประเพณีการถวายฟืนแก่พระสงฆ์เพื่อใช้จุดไฟในช่วงฤดูหนาว จะกระทำในเดือน 4 เหนือหรือตรงกับเดือนมกราคม
ประเพณีอู้สาว คำว่า "อู้" เป็นภาษาไทยภาคเหนือแปลว่า "พุดกัน คุยกัน สนทนากัน สนทนากัน" ดังนั้น "อู้สาว" ก็คือ พูดกับสาว คุยกับสาว หรือแอ่วสาวการอู้สาวเป็นการพดคุยกันเป็นทำนองหรือเป็นกวีโวหาร
เพลงพื้นบ้านในภาคเหนือ
วัฒนธรรมเพลงพื้นบ้านท้องถิ่นในของภาคเหนือ เน้นความเพลงที่มีความสนุกสนาน
สามารถใช้ร้องเล่นได้ทุกโอกาส ไม่จำกัดฤดู ไม่จำกัดเทศกาล
ส่วนใหญ่นิยมใช้ร้องเพลงเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ และการพักผ่อนหย่อนใจโดยลักษณะการขับร้องและท่วงทำนองจะ อ่อนโยน ฟังดูเนิบนาบนุ่มนวล
สอดคล้องเครื่องดนตรีหลัก ได้แก่ ปี่ ซึง สะล้อ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังสามารถจัดประเภทของเพลงพื้นบ้านของภาคเหนือได้ 4 ประเภท ดังนี้
เพลงซอ คือการร้องเพลงร้องโต้ตอบกันระหว่างชายหญิง เพื่อเกี้ยวพาราสีกัน โดยมีการบรรเลงปี่ สะล้อและซึง เคล้าคลอไปด้วย
เพลงค่าว ซึ่งเป็นบทขับร้องที่มีทำนองสูงต่ำ ไพเราะ
เพลงจ๊อย คล้ายการขับลำนำ โดยมีผู้ร้องหลายคน เป็นการนำบทประพันธ์ของภาคเหนือ นำมาขับร้องเป็นทำนองสั้น ๆ โดยเนื้อหาเป็นการระบายความในใจ แสดงอารมณ์ความรัก ความเงียบเหงา ทั้งนี้ มีผู้ขับร้องเพียงคน เดียว โดยจะใช้ดนตรีบรรเลงหรือไม่ก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น จ๊อยให้กับคนรักรู้คนในใจ จ๊อยประชันกันระหว่างเพื่อนฝูง และจ๊อยเพื่ออวยพรในโอกาสต่าง ๆ หรือจ๊อยอำลา
เพลงเด็ก มีลักษณะคล้ายกับเพลงเด็กของภาคอื่น ๆ คือ เพลงกล่อมเด็ก เพลงปลอบเด็ก และเพลงที่เด็กใช้ร้องเล่นกันได้แก่ เพลงกล่อมลูก หรือเพลงฮื่อลูก และเพลงสิกจุ่ง-จา (สิก จุ่ง-จา หมายถึง เล่นชิงช้า) ซึ่งการสิกจุ่งจาเป็นการละเล่นของภาคเหนือ จะผู้เล่นมีกี่คนก็ได้ โดยชิงช้าทำด้วยเชือกเส้นเดียวสอดเข้าไปในรูกระบอกไม้ซาง แล้วผูกปลายเชือกทั้งสองไว้กับต้นไม้หรือใต้ถุนบ้าน
ส่วนวิธีเล่น คือ แกว่งชิงช้าไปมาให้สูงมาก ๆ บทร้องประกอบผู้เล่นจะร้องตามจังหวะที่ชิงช้าแกว่งไกวไปมา ดังนี้
"สิกจุ่งจา อีหล้าจุ่งจ๊อย ขึ้นดอยน้อย ขึ้นดอยหลวง เก็บผักขี้ขวง ใส่ซ้าทังลุ่ม เก็บฝักกุ่ม ใส่ซ้าทั้งสน เจ้านายตน มาปะคนหนึ่ง ตีตึ่งตึง หื้ออย่าสาวฟังควักขี้ดัง หื้ออย่าสาวจูบ แปงตูบน้อย หื้ออย่าสาวนอน ขี้ผองขอน หื้ออย่าสาวไหว้ ร้อยดอกไม้ หื้ออย่าสาวเหน็บ จักเข็บขบหู ปูหนีบข้าง ช้างไล่แทง แมงแกงขบเขี้ยว เงี้ยวไล่แทง ตกขุมแมงดิน ตีฆ้องโม่ง ๆ "
นอกจากนี้ มีเพลงกล่อมลูกที่ภาคเหนือใช้ในการกล่อมลูกหรือเด็ก จะขึ้นต้นด้วยคำว่า "สิกจุ้งจาโหน" แล้วยังมักจะขึ้นต้นด้วย คำว่า "อื่อจา" เป็นส่วนใหญ่ จึงเรียกเพลงกล่อมเด็กนี้ว่า เพลงอื่อลูกทำนองและลีลาอื่อลูกจะเป็นไป ช้า ๆ ด้วยน้ำเสียงทุ้มเย็นตามถ้อยคำที่คัดสรรมา เพื่อสั่งสอน และพรรณาถึงความรัก ความห่วงใยลูกน้อย กระทั่งคำขู่ คำปลอบ หากไม่ยอมนอนหลับ ซึ่งเพลงกล่อมเด็กภาคเหนือสะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมต่าง ๆ ของ คนในภาคเหนือตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
เพลงซอ คือการร้องเพลงร้องโต้ตอบกันระหว่างชายหญิง เพื่อเกี้ยวพาราสีกัน โดยมีการบรรเลงปี่ สะล้อและซึง เคล้าคลอไปด้วย
เพลงค่าว ซึ่งเป็นบทขับร้องที่มีทำนองสูงต่ำ ไพเราะ
เพลงจ๊อย คล้ายการขับลำนำ โดยมีผู้ร้องหลายคน เป็นการนำบทประพันธ์ของภาคเหนือ นำมาขับร้องเป็นทำนองสั้น ๆ โดยเนื้อหาเป็นการระบายความในใจ แสดงอารมณ์ความรัก ความเงียบเหงา ทั้งนี้ มีผู้ขับร้องเพียงคน เดียว โดยจะใช้ดนตรีบรรเลงหรือไม่ก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น จ๊อยให้กับคนรักรู้คนในใจ จ๊อยประชันกันระหว่างเพื่อนฝูง และจ๊อยเพื่ออวยพรในโอกาสต่าง ๆ หรือจ๊อยอำลา
เพลงเด็ก มีลักษณะคล้ายกับเพลงเด็กของภาคอื่น ๆ คือ เพลงกล่อมเด็ก เพลงปลอบเด็ก และเพลงที่เด็กใช้ร้องเล่นกันได้แก่ เพลงกล่อมลูก หรือเพลงฮื่อลูก และเพลงสิกจุ่ง-จา (สิก จุ่ง-จา หมายถึง เล่นชิงช้า) ซึ่งการสิกจุ่งจาเป็นการละเล่นของภาคเหนือ จะผู้เล่นมีกี่คนก็ได้ โดยชิงช้าทำด้วยเชือกเส้นเดียวสอดเข้าไปในรูกระบอกไม้ซาง แล้วผูกปลายเชือกทั้งสองไว้กับต้นไม้หรือใต้ถุนบ้าน
ส่วนวิธีเล่น คือ แกว่งชิงช้าไปมาให้สูงมาก ๆ บทร้องประกอบผู้เล่นจะร้องตามจังหวะที่ชิงช้าแกว่งไกวไปมา ดังนี้
"สิกจุ่งจา อีหล้าจุ่งจ๊อย ขึ้นดอยน้อย ขึ้นดอยหลวง เก็บผักขี้ขวง ใส่ซ้าทังลุ่ม เก็บฝักกุ่ม ใส่ซ้าทั้งสน เจ้านายตน มาปะคนหนึ่ง ตีตึ่งตึง หื้ออย่าสาวฟังควักขี้ดัง หื้ออย่าสาวจูบ แปงตูบน้อย หื้ออย่าสาวนอน ขี้ผองขอน หื้ออย่าสาวไหว้ ร้อยดอกไม้ หื้ออย่าสาวเหน็บ จักเข็บขบหู ปูหนีบข้าง ช้างไล่แทง แมงแกงขบเขี้ยว เงี้ยวไล่แทง ตกขุมแมงดิน ตีฆ้องโม่ง ๆ "
นอกจากนี้ มีเพลงกล่อมลูกที่ภาคเหนือใช้ในการกล่อมลูกหรือเด็ก จะขึ้นต้นด้วยคำว่า "สิกจุ้งจาโหน" แล้วยังมักจะขึ้นต้นด้วย คำว่า "อื่อจา" เป็นส่วนใหญ่ จึงเรียกเพลงกล่อมเด็กนี้ว่า เพลงอื่อลูกทำนองและลีลาอื่อลูกจะเป็นไป ช้า ๆ ด้วยน้ำเสียงทุ้มเย็นตามถ้อยคำที่คัดสรรมา เพื่อสั่งสอน และพรรณาถึงความรัก ความห่วงใยลูกน้อย กระทั่งคำขู่ คำปลอบ หากไม่ยอมนอนหลับ ซึ่งเพลงกล่อมเด็กภาคเหนือสะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมต่าง ๆ ของ คนในภาคเหนือตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
นิทานพื้นบ้าน
นิทานของภาคของแต่ละภาคมักเต็มไปด้วยสาระ คติสอนใจ พร้อมความสนุกสนานเพลิดเพลิน อาจมีความแตกต่างกันไปตามแต่ลักษณะสำคัญของภูมิภาค ส่วนนิทานพื้นบ้านจากภาคเหนือมักเป็นตำนานของสถานที่ต่าง ๆ หรือความเป็นมาและสาเหตุของสถานที่เหล่านั้นเล่าสืบต่อกันมาช้านาน เพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน และได้สาระที่เป็นคติสอนใจ อาทิ ความดี ความกตัญญู ความซื่อสัตย์ รวมถึงยังสะท้อนให้เห็นถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่นภาคเหนืออีกด้วย
ยกตัวอย่างนิทานพื้นบ้านภาคเหนือ ได้แก่
- เรื่อง ลานนางคอย จังหวัดแพร่
- เรื่อง เมืองลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
- เรื่อง เซี่ยงเมี่ยงค่ำพญา
- เรื่อง ปู๋เซ็ดค่ำลัวะ
- เรื่อง ดนตรีธรรมชาติ
- เรื่อง เชียงดาว
- เรื่อง อ้ายก้องขี้จุ๊
- เรื่อง ผาวิ่งชู้
- เรื่อง ควายลุงคำ
- เรื่อง ย่าผันคอเหนียง
นิทานของภาคของแต่ละภาคมักเต็มไปด้วยสาระ คติสอนใจ พร้อมความสนุกสนานเพลิดเพลิน อาจมีความแตกต่างกันไปตามแต่ลักษณะสำคัญของภูมิภาค ส่วนนิทานพื้นบ้านจากภาคเหนือมักเป็นตำนานของสถานที่ต่าง ๆ หรือความเป็นมาและสาเหตุของสถานที่เหล่านั้นเล่าสืบต่อกันมาช้านาน เพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน และได้สาระที่เป็นคติสอนใจ อาทิ ความดี ความกตัญญู ความซื่อสัตย์ รวมถึงยังสะท้อนให้เห็นถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่นภาคเหนืออีกด้วย
ยกตัวอย่างนิทานพื้นบ้านภาคเหนือ ได้แก่
- เรื่อง ลานนางคอย จังหวัดแพร่
- เรื่อง เมืองลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
- เรื่อง เซี่ยงเมี่ยงค่ำพญา
- เรื่อง ปู๋เซ็ดค่ำลัวะ
- เรื่อง ดนตรีธรรมชาติ
- เรื่อง เชียงดาว
- เรื่อง อ้ายก้องขี้จุ๊
- เรื่อง ผาวิ่งชู้
- เรื่อง ควายลุงคำ
- เรื่อง ย่าผันคอเหนียง
เครื่องดนตรีพื้นบ้าน
สะล้อ หรือทะล้อ เป็นเครื่องสายบรรเลง ด้วยการสี ใช้คัน ชักอิสระ ตัวสะล้อที่เป็น แหล่งกำเนิดเสียงทำ ด้วยกะลามะพร้าว
ซึง เป็นเครื่องสายชนิดหนึ่ง ใช้บรรเลงด้วยการดีด ทำ ด้วยไม้สักหรือไม้เนื้อแข็ง
ขลุ่ย มีลักษณะเช่นเดียวกับขลุ่ยของภาคกลาง
ปี่แน มีลักษณะคลายปี่ไฉน หรือปี่ชวา แต่มี ขนาดใหญ่กว่า เป็นปี่ประเภท ลิ้นคู่ทำด้วยไม้ พิณเปี๊ยะ หรือ พิณเพียะ หรือบางทีก็เรียกว่า เพียะ หรือเปี๊ยะ กะโหลกทำด้วยกะลามะพร้าว
กลองเต่งถิ้ง เป็นกลองสองหน้า ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้แดง หรือไม้ เนื้ออ่อน
ตะหลดปด หรือมะหลดปด เป็นกลองสองหน้า ขนาดยาวประมาณ 100 เซนติเมตร
กลองตึ่งโนง เป็นกลองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวกลองจะยาว มากขนาด 3-4 เมตร
กลองสะบัดชัยโบราณ เดิมใช้ตียามออกศึกสงคราม เพื่อเป็นสิริมงคล และเป็นขวัญกำลังใจให้แก่เหล่าทหารหาญในการต่อ สู้ให้ได้ชัยชนะ ซึ่งปัจจุบันพบเห็นในขบวนแห่หรืองานแสดงศิลปะพื้นบ้านในระยะหลังโดยทั่วไป ลีลาในการตีมีลักษณะโลดโผนเร้าใจมีการใช้อวัยวะหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ศอก เข่า ศีรษะ ประกอบในการตีกลองด้วย ทำให้การแสดงการตีกลองสะบัดชัยเป็นที่ประทับใจของผู้ที่ได้ชม
สะล้อ หรือทะล้อ เป็นเครื่องสายบรรเลง ด้วยการสี ใช้คัน ชักอิสระ ตัวสะล้อที่เป็น แหล่งกำเนิดเสียงทำ ด้วยกะลามะพร้าว
ซึง เป็นเครื่องสายชนิดหนึ่ง ใช้บรรเลงด้วยการดีด ทำ ด้วยไม้สักหรือไม้เนื้อแข็ง
ขลุ่ย มีลักษณะเช่นเดียวกับขลุ่ยของภาคกลาง
ปี่แน มีลักษณะคลายปี่ไฉน หรือปี่ชวา แต่มี ขนาดใหญ่กว่า เป็นปี่ประเภท ลิ้นคู่ทำด้วยไม้ พิณเปี๊ยะ หรือ พิณเพียะ หรือบางทีก็เรียกว่า เพียะ หรือเปี๊ยะ กะโหลกทำด้วยกะลามะพร้าว
กลองเต่งถิ้ง เป็นกลองสองหน้า ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้แดง หรือไม้ เนื้ออ่อน
ตะหลดปด หรือมะหลดปด เป็นกลองสองหน้า ขนาดยาวประมาณ 100 เซนติเมตร
กลองตึ่งโนง เป็นกลองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวกลองจะยาว มากขนาด 3-4 เมตร
กลองสะบัดชัยโบราณ เดิมใช้ตียามออกศึกสงคราม เพื่อเป็นสิริมงคล และเป็นขวัญกำลังใจให้แก่เหล่าทหารหาญในการต่อ สู้ให้ได้ชัยชนะ ซึ่งปัจจุบันพบเห็นในขบวนแห่หรืองานแสดงศิลปะพื้นบ้านในระยะหลังโดยทั่วไป ลีลาในการตีมีลักษณะโลดโผนเร้าใจมีการใช้อวัยวะหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ศอก เข่า ศีรษะ ประกอบในการตีกลองด้วย ทำให้การแสดงการตีกลองสะบัดชัยเป็นที่ประทับใจของผู้ที่ได้ชม
การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ
โอกาสที่แสดงนิยม โชว์ในงานพระราชพิธี หรือวันสำคัญทางศาสนา ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง งานมงคล และงานรื่นเริงทั่วไป ในที่นี้จะแสดงตามความเหมาะสมตามสถานการณ์ ได้แก่ ฟ้อนภูไท ฟ้อนเทียน, ฟ้อนเล็บ หรือฟ้อนเมือง, ฟ้อนดาบ, ฟ้อนเงี้ยว, ฟ้อนลาวแพน, ฟ้อนรัก, ฟ้อนดวงเดือน, ฟ้อนดวงดอกไม้, ฟ้อนมาลัย, ฟ้อนไต , ฟ้อนโยคีถวายไฟ, ระบำชาวเขา, รำลาวกระทบไม้, รำกลองสะบัดชัย
โอกาสที่แสดงนิยม โชว์ในงานพระราชพิธี หรือวันสำคัญทางศาสนา ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง งานมงคล และงานรื่นเริงทั่วไป ในที่นี้จะแสดงตามความเหมาะสมตามสถานการณ์ ได้แก่ ฟ้อนภูไท ฟ้อนเทียน, ฟ้อนเล็บ หรือฟ้อนเมือง, ฟ้อนดาบ, ฟ้อนเงี้ยว, ฟ้อนลาวแพน, ฟ้อนรัก, ฟ้อนดวงเดือน, ฟ้อนดวงดอกไม้, ฟ้อนมาลัย, ฟ้อนไต , ฟ้อนโยคีถวายไฟ, ระบำชาวเขา, รำลาวกระทบไม้, รำกลองสะบัดชัย
จะเห็นได้ว่าภาคเหนือของประเทศไทยนั้นประกอบด้วยผู้ที่คนหลากหลายชาติพันธุ์
จึงทำให้มีภาษาถิ่นที่แตกต่างกัน แต่มีสิ่งที่คล้ายคลึงกัน คือ ความเคารพบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ก่อให้เกิดรากเหง้าขนบธรรมเนียม
ประเพณี พิธีกรรม มาถึงปัจจุบัน ซึ่งชาวเหนือจะมีประเพณีที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตแบ่งสรรตามฤดูกาล
แม้แตกต่างกันกลับมีสายใยแห่งชุมชนร้อยรัดผู้คนให้แน่นแฟ้นถือเป็นเสน่ห์ชวนให้ผู้คนหลงรัก
"ดินแดนล้านนา"
อ้างอิง : https://travel.kapook.com/view68566.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น